วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
อุดรธานี
ประวัติศาสตร์จังหวัดอุดรธานี
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า บริเวณพื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000-7,000 ปี จากหลักฐานการค้นพบที่บ้านเชียง อำเภอหนองหานและภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่อำเภอบ้านผือ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีระหว่างประเทศว่า ชุมชนที่เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดอุดรธานี มีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง และอาจถ่ายทอดความเจริญนี้ไปสู่ประเทศจีนก็อาจเป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้นสันนิษฐานว่าอาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่เก่าที่สุดของโลก
หลังจากยุคความเจริญที่บ้านเชียงแล้ว พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีกจนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยทวารวดี (พ.ศ. 1200-1600) สมัยลพบุรี (พ.ศ. 1200-1800) และสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1800-2000) จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาสมัยทวารวดีลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณทิวเขาภูพาน ใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานชื่ออุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์แต่อย่างใด
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์เมื่อราวปีจอ พ.ศ. 2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์ และที่เมืองหนองบัวลำภูนี่เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ
แหล่งช้อปปิ้ง อุดรธานี
ลาดนาข่า ตลาดผ้าน่าช้อปแห่งอุดรธานี
ตลาดผ้าบ้านนาข่า หรือที่ติดปากกันดีว่าตลาดนาข่า คืออีกย่านท่องเที่ยวลือชื่อของจังหวัดอุดรธานี ในสไตล์ของแหล่งช้อปปิ้งเสื้อผ้าและผ้าต่างๆ แต่ก็ไม่แคล้วที่จะมีสินค้าหลากหลายในสไตล์พื้นบ้านให้ได้เลือกซื้อกันครับ ซึ่งจะมีอะไรให้ช้อปติดไม้ติดมือ
กิจกรรมท่องเที่ยว ที่ต้องมาทำให้ได้
1. ถ่ายรูปกับเป็ดเหลือง แห่งหนองประจักษ์
หลายคนคงเคยเห็น เคยได้ยินกันมาพอสมควร กับ เป็ดเหลือง หรือ บางคนเรียกว่าเป็นสันติภาพ ในขณะนี้ ถือว่า เป็น landmark อันดับหนึ่ง ของอุดรธานีไปซะแล้ว ที่อยู่ของน้องเป็ดเหลืองอยู่ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ใจกลางเมืองอุดรธานี
2. เข้าวัดเข้าวา และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด
อุดรธานี ถือได้ว่า เป็นถินแห่งพระอริยสงฆ์ ทั้งหลวงตามหาบัว พระอาจารย์อินทวาย นอกจากนี้มีวัดวาอารามที่สวยงามมากมาย และในตอนนี้วัดที่ถือว่ามีความสวยงาม และ มีชื่อเสียงที่สุด คือ วัดภูก้อน อ.นางยูง เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปหินขาวปางปรินิพพาน ใหญ่ที่สุดในโลก
หลายคนคงเคยเห็น เคยได้ยินกันมาพอสมควร กับ เป็ดเหลือง หรือ บางคนเรียกว่าเป็นสันติภาพ ในขณะนี้ ถือว่า เป็น landmark อันดับหนึ่ง ของอุดรธานีไปซะแล้ว ที่อยู่ของน้องเป็ดเหลืองอยู่ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ใจกลางเมืองอุดรธานี
2. เข้าวัดเข้าวา และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด
อุดรธานี ถือได้ว่า เป็นถินแห่งพระอริยสงฆ์ ทั้งหลวงตามหาบัว พระอาจารย์อินทวาย นอกจากนี้มีวัดวาอารามที่สวยงามมากมาย และในตอนนี้วัดที่ถือว่ามีความสวยงาม และ มีชื่อเสียงที่สุด คือ วัดภูก้อน อ.นางยูง เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปหินขาวปางปรินิพพาน ใหญ่ที่สุดในโลก
สวนน้ำในจังหวัดอุดรธานี
Usotel Waterland
Usotel Waterland (ยูโซเทล วอเตอร์แลนด์) เป็นสวนน้ำแห่งใหม่ของจังหวัดอุดร เริ่มให้บริการเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแต่กระแสการตอบรับกลับล้นหลาม ด้วยความสดใส น่ารัก และสนุกสนานของเครื่องเล่นต่างๆ ที่แบ่งออกเป็น 3 โซน
ร้านอาหารแนะนำในจังหวัดอุดรธานี
ส้มตำเจ๊ไก่บ้านนายอำเภอ
มาเที่ยวอุดรทั้งที ถ้าไม่ได้กินไก่ย่าง ส้มตำ เหมือนมาไม่ถึง ร้านเจ๊ไก่นี่ถือว่าดังพอสมควร เป็นร้านแรกที่คิดถึงเลย กินแค่ครั้งเดียวก็เสียวแล้ว เสียวว่าจะเผ็ดจี๊ดจ๊าด(อย่าคิดมาก) ฉะนั้นก่อนสั่งส้มตำควรระบุความเผ็ดให้พอเหมาะกับผนังกระเพาะของตัวเอง เมนูเด็ดของที่นี่นอกจากตำสารพัดชนิดแล้ว ยังมีแกงเห็ด แล้วก็ปลาเผาตัวโตๆ อีกด้วย แม้ว่าบรรยากาศร้านจะเป็นแบบบ้านๆ แต่รสชาติไม่บ้านนะขอบอก
ซอย นเรศวร (ใกล้วัดทิพยรัฐนิมิตร ซอยหน้าวัดบ้านจิก) อุดรธานี , เมืองอุดรธานี , อุดรธานี 41000
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- อักษรย่อ : อด
- ตราประจำจังหวัด : ตราประจำจังหวัดศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2483
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นเต็ง (Shorea obtusa)
- พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด : ต้นรังหรือต้นฮัง (Shorea siamensis) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-20 เมตร ใบรูปไข่ ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกทองกวาว (Butea monosperma)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาสร้อยลูกกล้วยหรือปลาคุยลาม (Labiobarbus siamensis)
- ธงประจำจังหวัด : เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด มีรูปท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นดวงตราประจำจังหวัดอยู่กลางผืนธง
ประเพณี
งานมรดกโลกบ้านเชียง เป็นงานสืบสานวัฒนธรรมอันเก่าแก่ 5000ปี สถานที่จัดงาน ณ.เทศบาลตำบลบ้านเชียง อ.หนองหาน จังหวัดอุดรธานี สมเด็จพระเทพราชสุดา จะมาเปิดงานประจำทุกปี งานนี้ท่านพ่อเมืองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี คนปัจจุบันจะเป็นคนกล่าวเปิดงานพร้อมด้วยหน่วยงานราชการต่างๆ จัดเป็นซุ้มๆของแต่ละหน่วยงาน เช่น เทศบาลตำบลบ้านเชียง อบต.บ้านเชียง เทศบาลตำบลหนองเม็ก เทศบาลหนองหาน เป็นต้น จะจัดทุกปีในเดือนกุมภาพันธ์ จะมีขบวนแห่ของหน่วยงานต่างๆ จัดขบวนแห่สวยงามมาก ตอนกลางคืนจะมีงาน โดยจะมีนักร้องและนักแสดงมาให้ความบันเทิง
งานบวงสรวงอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคม อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ตั้งอยู่กลางเมืองอุดรธานี พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2399 ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ (เรียกว่า ”มณฑลอุดร” ในสมัยต่อมา) ระหว่าง ร.ศ. 112–118 ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเมืองอุดรขึ้น เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงจัดวางระเบียบราชการปกครองบ้านเมือง และรับราชการในหน้าที่สำคัญ ๆ ที่อำนวยประโยชน์แก่ราษฎร อนุสาวรีย์พระองค์ท่านนับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวจังหวัดอุดรธานี จะมีพิธีบวงสรวงในวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี
สถานที่ที่ควรไปเคารพ
ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน อุดรธานี และ ศาลปู่ย่าอุดรธานี
ศูนย์รวมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนและศาล เจ้าปู่-ย่าศูนย์รวมความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน ในจังหวัดอุดรธานี
ศาลหลักเมือง
ศูนย์รวมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนและศาล
ศาลหลักเมือง
หนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของจังหวัดอุดรธานี คือ ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ที่หน้าศาลากลางจังหวัด สร้างเมื่องปี 2502 โดยได้อัญเชิญดวงพระวิญญาณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมือง มาสถิตย์ ณ เสาหลักเมือง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)